5 วิธีลดปัญหาความร้อนในคอนโด
5 วิธีลดปัญหาความร้อนในคอนโด
1.ติดม่านกรองแสง
สำหรับการติดม่าน คงไม่มีใครปล่อยหน้าต่างไว้โล่งๆแน่นอน แต่การติดม่านนั้น นอกจากที่เราจะติดม่านทึบเพื่อกันแสงแดดเข้าห้องอย่างเดียว เราควรติดม่านกรองแสงที่เป็นม่านบางๆอีกชั้นหนึ่งด้วย เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มชั้นในการลดความร้อนที่จะเข้าห้องคอนโดแล้ว ตอนไหนที่เราอยากได้แสงสว่างอ่อนๆเข้ามาให้ห้อง ก็จะได้เปิดม่านทึบแค่ชั้นเดียว และแสงแดดก็ไม่เข้ามาจนทำให้ห้องร้อนด้วย
2. ติดม่านกันแดด
ม่านกัน UV คือ ม่านที่มีด้านหนึ่งทำหน้าที่ป้องกันความร้อนและมีผิวผ้าม่านที่เคลือบด้วยสารป้องกันรังสี UV เหมือนกับร่มกันแดดที่ช่วยสะท้อนความร้อนไม่ให้ทะลุเข้ามาถึงในห้อง สำหรับม่านกันแดดนี้ก็สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามห้างสรรสินค้า หรือร้านเฟอร์นิเจอร์ ร้านขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้านและคอนโด
3. เปิดหน้าต่างระบายลม
สำหรับคอนที่อยู่คอนโด โดยเฉพาะคอนโดชั้นสูงๆน่าจะมีลมพัดโกรกเย็นสบาย แต่หลายๆคนอาจจะละเลยเรื่องนี้ไป ทำให้ลืมการเปิดหน้าต่างระบายอากาศภายในห้องเพื่อให้ความร้อนที่ผนังห้องได้รับมาระหว่างวันนั้นได้ระบายไปพร้อมกับลมที่พัดเข้ามา แม้ว่าเราจะกลับถึงคอนโดในตอนเย็นแล้วก็ตาม แต่ผนังห้องและผนังตึกก็ยังอมความร้อนที่สะสมมาทั้งวันอยู่ดี ดังนั้นก่อนจะเปิดเครื่องปรับอากาศจึงควรเปิดหน้าต่างระบายลมให้อากาศในห้องเย็นลงก่อน เป็นการช่วยให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนักอีกด้วย
สำหรับการเปิดหน้าต่างระบายอากาศนั้นก็มีข้อจำกัดว่าจะต้องเปิดให้มีทางเข้าและออกของลม 2 ทาง เพราะธรรมชาติของลมเมื่อเจอทางเข้ามาในห้องแล้วก็จะพัดเวียนและหาทางออก หากเราเปิดหน้าต่าง หรือมีช่องให้ลมเข้าอย่างเดียว ก็จะเกิดแรงดันและอากาศไม่ถ่ายเทอยู่ดี จึงควรเปิดช่องลมอีกช่องให้ลมได้พัดออกและพามวลอากาศเดิมที่สะสมอยู่ในห้องออกไปด้วย
4. ติดเครื่องปรับอากาศ
ซึ่งเป็นตัวช่วยในการลดความร้อนภายในห้องได้ดีและง่ายที่สุด แต่การติดเครื่องปรับอากาศนั้นจะมีค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะคนที่ชอบอยู่ในคอนโดวันเสาร์อาทิตย์แล้วเปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวัน จึงควรจะทำทุกวิธีการลดปัญหาความร้อนในคอนโดทุกข้อประกอบกัน ก็จะช่วยลดค่าไฟได้ไม่มากก็น้อย
5. ติดฟิล์มกันความร้อน
การติดฟิล์มกันความร้อนที่กระจกหน้าต่างของคอนโด ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ หากใครอยากให้แสงยังสามารถผ่านเข้ามาในห้องได้ แต่ไม่อยากได้ความร้อนก็สามารถเลือกเป็นแบบโปร่งแสง ลักษณะจะคล้ายๆฟิล์มติดรถยนต์ หรือถ้าใครอยากให้กันทั้งความร้อนและแสงเข้าน้อยคล้ายๆกระจกสีชาสมัยก่อน ก็ลองหาแบบทึบแสงมาติดดู
1.ติดม่านกรองแสง
สำหรับการติดม่าน คงไม่มีใครปล่อยหน้าต่างไว้โล่งๆแน่นอน แต่การติดม่านนั้น นอกจากที่เราจะติดม่านทึบเพื่อกันแสงแดดเข้าห้องอย่างเดียว เราควรติดม่านกรองแสงที่เป็นม่านบางๆอีกชั้นหนึ่งด้วย เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มชั้นในการลดความร้อนที่จะเข้าห้องคอนโดแล้ว ตอนไหนที่เราอยากได้แสงสว่างอ่อนๆเข้ามาให้ห้อง ก็จะได้เปิดม่านทึบแค่ชั้นเดียว และแสงแดดก็ไม่เข้ามาจนทำให้ห้องร้อนด้วย
2. ติดม่านกันแดด
ม่านกัน UV คือ ม่านที่มีด้านหนึ่งทำหน้าที่ป้องกันความร้อนและมีผิวผ้าม่านที่เคลือบด้วยสารป้องกันรังสี UV เหมือนกับร่มกันแดดที่ช่วยสะท้อนความร้อนไม่ให้ทะลุเข้ามาถึงในห้อง สำหรับม่านกันแดดนี้ก็สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามห้างสรรสินค้า หรือร้านเฟอร์นิเจอร์ ร้านขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้านและคอนโด
3. เปิดหน้าต่างระบายลม
สำหรับคอนที่อยู่คอนโด โดยเฉพาะคอนโดชั้นสูงๆน่าจะมีลมพัดโกรกเย็นสบาย แต่หลายๆคนอาจจะละเลยเรื่องนี้ไป ทำให้ลืมการเปิดหน้าต่างระบายอากาศภายในห้องเพื่อให้ความร้อนที่ผนังห้องได้รับมาระหว่างวันนั้นได้ระบายไปพร้อมกับลมที่พัดเข้ามา แม้ว่าเราจะกลับถึงคอนโดในตอนเย็นแล้วก็ตาม แต่ผนังห้องและผนังตึกก็ยังอมความร้อนที่สะสมมาทั้งวันอยู่ดี ดังนั้นก่อนจะเปิดเครื่องปรับอากาศจึงควรเปิดหน้าต่างระบายลมให้อากาศในห้องเย็นลงก่อน เป็นการช่วยให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนักอีกด้วย
สำหรับการเปิดหน้าต่างระบายอากาศนั้นก็มีข้อจำกัดว่าจะต้องเปิดให้มีทางเข้าและออกของลม 2 ทาง เพราะธรรมชาติของลมเมื่อเจอทางเข้ามาในห้องแล้วก็จะพัดเวียนและหาทางออก หากเราเปิดหน้าต่าง หรือมีช่องให้ลมเข้าอย่างเดียว ก็จะเกิดแรงดันและอากาศไม่ถ่ายเทอยู่ดี จึงควรเปิดช่องลมอีกช่องให้ลมได้พัดออกและพามวลอากาศเดิมที่สะสมอยู่ในห้องออกไปด้วย
4. ติดเครื่องปรับอากาศ
ซึ่งเป็นตัวช่วยในการลดความร้อนภายในห้องได้ดีและง่ายที่สุด แต่การติดเครื่องปรับอากาศนั้นจะมีค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะคนที่ชอบอยู่ในคอนโดวันเสาร์อาทิตย์แล้วเปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวัน จึงควรจะทำทุกวิธีการลดปัญหาความร้อนในคอนโดทุกข้อประกอบกัน ก็จะช่วยลดค่าไฟได้ไม่มากก็น้อย
5. ติดฟิล์มกันความร้อน
การติดฟิล์มกันความร้อนที่กระจกหน้าต่างของคอนโด ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ หากใครอยากให้แสงยังสามารถผ่านเข้ามาในห้องได้ แต่ไม่อยากได้ความร้อนก็สามารถเลือกเป็นแบบโปร่งแสง ลักษณะจะคล้ายๆฟิล์มติดรถยนต์ หรือถ้าใครอยากให้กันทั้งความร้อนและแสงเข้าน้อยคล้ายๆกระจกสีชาสมัยก่อน ก็ลองหาแบบทึบแสงมาติดดู
ข่าวสารแนะนำ