เทคนิคง่ายๆในการเลือกซื้อบ้านมือสอง

เทคนิคง่ายๆในการเลือกซื้อบ้านมือสอง

1 .สภาพของตัวบ้าน อายุของบ้าน สร้างกี่ปีแล้ว อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านไม่ว่าจะเป็น เครื่องสุขภัณฑ์ โคมไฟหลอดไฟต่างๆทั่วไปในบ้านว่าชำรุดเสียหายหรือไม่ สายไฟฟ้าในบ้านมีการขาดชำรุด เสื่อมสภาพหรือไม่ ท่อน้ำประปามีสนิม มีการรั่วซึมแตกหรือไม่ เพราะถ้าภาพรวมโครงสร้างบ้านเก่าไม่แข็งแรง เราอาจจะต้องซ่อมแซมอีกมากจนอาจจะเป็นปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในภายหลังอีกมาก ด้วยเหตุผลที่บ้านเก่า เป็นอันดับแรกๆในการพิจารณาตัดสินใจซื้อ เพราะปกติแล้วบ้านมือสองจะมีการเสื่อมของราคาตามระยะเวลายิ่งถ้าสภาพแวดล้อมเป็นทำเลที่ไม่ค่อยดี ราคาบ้านจะยิ่งตกลงอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นหากจะเลือกซื้อบ้านมือสอง ควรหาแหล่งที่คิดว่าอนาคตบ้านหลังนี้จะเจริญต่อไปในภายหน้า

2. พิจารณาสภาพแวดล้อมของบ้าน การเดินทางสะดวกสบายหรือไม่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อชีวิตประจำวันหรือไม่

3. ราคาบ้านมือสองที่เสนอขาย รวมและไม่รวมอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น ค่าโอนบ้าน ค่าภาษีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าอากรแสตมป์

4.หากต้องการกู้บ้านมือสอง ต้องเตรียมเรื่องขออนุมัติวงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านด้วย

5. ตรวจสอบเรื่องการเวนคืน แม้ว่าจะอุ่นใจได้ว่าจะสร้างจนบ้านเสร็จให้เห็นว่ามีการตรวจสอบแล้ว แต่ก็ไม่ควรประมาท ยิ่งเฉพาะบ้านอยู่ในทำเลล่อแหลม เช่น ใกล้สามแยก บ่อยครั้งที่เจ้าของที่ดินเดิมมีการหมกเม็ดพยายามแบ่งถ่ายทรัพย์สินตนเองก่อนจะมีกฎหมายห้ามขายและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน

6.ตรวจเช็ค ผู้ที่ขายบ้านและที่ดินให้เรานั้นมีกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยนั้นจริงหรือไม่

7.ตรวจดูข้อมูลบ้านมือสองให้ละเอียด บ้านอาจจะติดภาระจำนอง แต่โดยทั่วไปแล้วการซื้อบ้านมือสองส่วนใหญ่จะติดจำนอง ดังนั้นเราจะต้องผ่านกระบวนการไถ่ถอนการจำนองมาก่อน และค่อยโอนกรรมสิทธิ์

8.สำหรับอาคารชุดมือสอง สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องตรวจสอบเอกสารการจดทะเบียนอาคารชุด นิติบุคคลค่าธรรมเนียมต่างๆรวมไปถึงค่าส่วนกลางและบริการต่างๆ อย่างละเอียด เพราะนอกจากเราจะตรวจสอบค่าใช้จ่าย เมื่อเราซื้อไปแล้วเราจะต้องเสียค่าอะไรบ้าง คุ้มค่าที่เราจะซื้อหรือไม่

9.ถ้าต้องการจะซื้อที่ดินพร้อมบ้านจัดสรร ทาวน์เฮ้าส์ หรืออาคารพาณิชย์ควรตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยว่า ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของโครงการ ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารแล้วหรือไม่ โดยตรวจสอบได้จากกรมโยธาธิการ หรือสำนักงานเขต กทม. หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วแต่กรณี

10.ตรวจสอบสัญญาการซื้อขาย รายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ภาษี และอื่นๆ ต้องมีการทำสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน และควรเก็บสัญญาหลังจากมีการซื้อขายเสร็จแล้วไว้ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆในอนาคต

11.เอกสารส่วนประกอบของสัญญา ควรเก็บอย่างดี ไม่ว่าเราจะซื้อจากเจ้าของโครงการหรือจากบุคคล เพราะว่าเอกสารทั้งหมดนี้ สามารถนำไปบังคับให้เจ้าของต้องทำตามข้อตกลงในสัญญาที่เคยระบุไว้ได้ ในกรณีที่เกิดปัญหา